บทที่  2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

               

การวิจัย เรื่อง การสร้างและออกแบบเครื่องหั่นกล้วย แบบ 2 แนว  ผู้วิจัยได้ลำดับหัวข้อการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. การออกแบบเครื่องจักรกล
2. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมอเตอร์
3. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเพลา
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

2.1  การออกแบบเครื่องจักรกล
เครื่องจักรกลเป็นส่วนประกอบของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ต่ออยู่ด้วยกัน  เคลื่อนที่สัมพันธ์กัน  และ  ส่งแรงจากแหล่งต้นกำลังเพื่อเอาชนะความต้านทานต่าง ๆ ของเครื่องจักรกลและใช้ทำงานได้  ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลโดยทั่วไปจะเป็นชิ้นส่วนเกร็ง  ข้อต่อที่ใช้จะต้องเลือกและจัดให้ทำงานสัมพันธ์กันโดยอาจเปลี่ยนพลังงานรูปอื่นให้อยู่ในรูปพลังงานกล  หรืออาจรับพลังงานกลจากแหล่งภายนอก      ส่งเข้ามาและเปลี่ยนแปลงให้ทำงานได้ในลักษณะที่ต้องการ
การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกี่ยวข้องกับการออกแบบรูปร่าง พื้นฐานทางด้านการคำนวณและหลักการเลือกใช้วัสดุสำหรับทำชิ้นส่วนตามความเหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกล    และกับชิ้นงานในลักษณะต่างๆกัน การออกแบบเครื่องจักรกลเป็นศิลปะของการพัฒนาทางด้านความคิดใหม่ๆ ทางด้านเครื่องจักรกล  แล้วแสดงความคิดนั้นลงบนกระดาษในรูปของแบบเครื่องจักรกลใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นได้     ก็เพราะความต้องการในการใช้งาน และเกิดจากมโนภาพที่ได้จากบุคคลหลายฝ่าย เช่น ผู้ใช้เครื่องจักรกล  ผู้ผลิตเครื่องจักรกล ดังนั้นด้วยผลจากความคิดเห็นต่างๆ ทำให้เกิดการดัดแปลงปรับปรุงเครื่องจักรกลอยู่ตลอดเวลา  และค้นพบวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมาก จนกระทั่งพบวิธีที่ดีที่สุด สิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือศิลปะในการออกแบบ  ผู้ออกแบบที่ดีควรมีศิลปะในการออกแบบด้วย  ศิลปะการออกแบบอาจอธิบายได้ดังนี้คือ  “ผู้ออกแบบใช้ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สร้างแบบที่สามารถผลิตได้โดยวิธีการทางวิศวกรรมซึ่งไม่เพียงแต่จะทำงานได้เท่านั้น แต่จะต้องผลิตได้โดยวิธีที่ประหยัดที่สุดและทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพที่สุด (วริทธิ์และชาญ : 2538)
2.1.1 ปรัชญาของการออกแบบ
ผู้ออกแบบจะเริ่มต้นด้วยการขีดเขียนและสร้างสรรค์แบบใหม่ ๆ  ขึ้นมา  แม้ว่าในการสร้างเครื่องจักรกลชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีใช้มาก่อน  จะต้องใช้ความคิดโดยอาศัยพื้นความรู้ต่าง ๆ  อาศัยประสบการณ์และใช้เวลามากหรือน้อยก็ตาม  ผู้ออกแบบจะได้ผลกำไรจากความชำนาญทางด้านวิศวกรรมและด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นหลายประการ
การออกแบบส่วนมากจะทำตามแบบอย่างที่มีใช้อยู่ในอุตสาหกรรม  เช่น  เครื่องกลึง รุ่นใหม่ก็มี ลักษณะคล้ายกับเครื่องกลึงรุ่นเก่า  รถยนต์รุ่นใหม่ก็คล้ายกับรถยนต์รุ่นเก่า  เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้น  เพราะมีความรู้มากขึ้น  มีประสบการณ์มากขึ้น  ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงจะทำเมื่อต้องการประสิทธิภาพสูงขึ้น  เพื่อเพิ่มหรือรักษาระดับราคาหรือเพิ่มผลการแข่งขันทางด้านการตลา

2.1.2  พื้นฐานของผู้ออกแบบเครื่องกลผู้ออกแบบเครื่องจักรกลที่ดีควรจะต้องมีพื้นฐานความรู้ดังต่อไปนี้เป็นอย่างดี   

-   มีพื้นฐานความรู้ทางด้านความแข็งแรงของวัสดุเป็นอย่างดี    เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเค้น ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลจะต้องแข็งแรงและแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรับแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
- มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุวิศวกรรมที่ใช้กับเครื่องจักรกลเป็นอย่างดี  ทั้งทางด้านโลหะวิทยา กรรมวิธีทางความร้อนต่าง ๆ และติดตามการพัฒนาทางด้านวัสดุอยู่ตลอดเวลา  เพื่อจะได้นำวัสดุที่เหมาะสมที่สุดมาใช้
-  มีความรู้ทางด้านกรรมวิธีการผลิตต่าง ๆ หลักเศรษฐศาสตร์ของวิธีการผลิต   เพราะชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ผลิตขึ้นมาจะต้องแข่งขันกันทางด้านราคา บางครั้งการออกแบบชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งอาจเหมาะกับโรงงานผลิตแห่งหนึ่ง แต่ไม่เหมาะกับโรงงานผลิตอีกแห่งหนึ่งก็ได้    เช่น        โรงงานผลิตที่มี
แผนกเชื่อมที่ดี  แต่ไม่มีแผนกหล่อ  จะพบว่าการผลิตโดยวิธีเชื่อมจะประหยัดที่สุด  แต่ในขณะเดียวกันโรงงานอีกแห่งหนึ่งอาจตัดสินใจใช้วิธีหล่อเพราะมีแผนกหล่อที่ดีอยู่  (และอาจมีแผนกเชื่อมหรือไม่มี    ก็ได้)
- มีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อคุณสมบัติของวัสดุ เช่น บรรยากาศที่ทำให้เกิดการกัดกร่อน อุณหภูมิต่ำมาก ๆ หรือสูงมาก ๆ เป็นต้น
-  เตรียมพร้อมสำหรับการตัดสินใจอย่างฉลาดได้ว่าควรเลือกใช้ชิ้นส่วนที่มีจำหน่ายอยู่แล้วหรือต้องการออกแบบใหม่ควรใช้สูตรสำเร็จที่ได้จากประสบการณ์ในการออกแบบชิ้นส่วน หรือไม่ควรทดสอบชิ้นงานก่อนการผลิตหรือไม่ต้องออกแบบเป็นพิเศษเพื่อควบคุมการสั่นสะเทือน  ระดับเสียงดัง  และอื่น ๆ  หรือไม่
-   มีความเข้าใจถึงความสวยงามบางประการ ซึ่งจะทำให้ผลิตผลจูงใจ และดึงดูดใจผู้ใช้
-  มีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และการแข่งขันทางด้านราคา เพราะเหตุว่าวิศวกรมีหน้าที่ในการประหยัดเงินของผู้ว่าจ้าง การจะเพิ่มราคาสินค้าได้จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มสมรรถนะ เพิ่มสิ่งดึงดูดใจ หรือเพิ่มความทนทานให้มากขึ้น
-  มีสัญชาติญาณในการเป็นนักประดิษฐ์และสร้างสรรค์   สิ่งสำคัญที่สุดก็คือจะต้อง ทำให้เกิดประสิทธิผลสูงที่สุด ความคิดสร้างสรรค์อาจเกิดขึ้น เพราะมีความขยันขันแข็งที่จะแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกใจและมีความเต็มใจที่จะทำ
ตามปกติแล้วยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ควรจะพิจารณาโดยละเอียด  เช่น  เครื่องจักรกลจะ    ใช้งานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่  มีอะไรป้องกันการเผลอเรอขณะใช้งานของผู้ใช้เครื่องจักรหรือไม่        มีการสั่นสะเทือนจนอาจเกิดอันตรายหรือไม่  การประกอบชิ้นส่วนหรือการซ่อมบำรุงทำได้ยากหรือง่าย  เป็นต้น
เป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุดว่า  ไม่มีวิศวกรคนใดที่จะมีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวกับสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดและตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ  ได้อย่างดีที่สุด  องค์กรขนาดใหญ่ขึ้นย่อมจะมีผู้ชำนาญพิเศษในด้านต่าง ๆ  มากขึ้นซึ่งจะช่วยในการเป็นที่ปรึกษาได้อย่างดี  วิศวกรส่วนมากจะรู้ขั้นตอน       การออกแบบแล้วเป็นอย่างดี และจะดียิ่งขึ้นถ้าได้ใช้บุคคลหลายฝ่ายที่มีความชำนาญพิเศษต่างกันมาร่วมกันออกแบบ  การออกแบบเป็นงานอาชีพอย่างหนึ่งซึ่งมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ออกแบบ  เพราะต้องใช้พื้นความรู้อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  งานวิศวกรรมก็คืองานออกแบบ
2.1.3  ขั้นตอนของการออกแบบ
การออกแบบเป็นกระบวนการที่น่าสนใจมากว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร  ควรจะเริ่มต้นจากกระดาษเปล่าแผ่นหนึ่ง  แล้วเริ่มลงมือแสดงความคิดเห็นลงไป  ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น  มีอะไรบ้างที่เป็นตัวควบคุมหรือมีผลต่อการตัดสินใจ  และสุดท้ายงานออกแบบจะสิ้นสุดลงที่ใด  ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงขั้นตอนในการออกแบบทั่วไปซึ่งงานบางประเภทอาจไม่เป็นไปตามขั้นตอนดังกล่าวนี้ก็ได้  ทั้งนี้        ขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและกรรมวิธีในการออกแบบ  ดังจะเขียนเป็นแผนภูมิ ที่  2-1

1

ภาพที่ 2-แผนภูมิแสดงการออกแบบที่มีวงป้อนกลับ

หน้าหลัก top center

Free Web Hosting